บทความน่ารู้
โรคข้อเข่าเสื่อม (KOA) 膝关节骨关节炎
โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis ; KOA) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวที่ข้อเข่า (Articular Cartilage) กระดูกข้อต่อสึกหรอและเสื่อมลงตามอายุ ตามการใช้งาน หรือในผู้หญิงหมดประจำตัวขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นตัวป้องกันความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกจึงมีการชนกันและเสียดสีกันขณะรับน้ำหนัก จึงทำให้มีอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึด ข้อติด หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเข่าผิดรูปและเคลื่อนไหวผิดปกติได้
สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อม
- น้ำหนักตัวมากเกิน
- เคลื่อนไหวโดยใช้ข้อเข่ามากเกินไป
- ใช้ข้อเข่าผิดท่าผิดวิธี จนทำให้เข่าโก่ง เข่าเหยียดได้ไม่สุด
- ขาดการออกกำลังกาย หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำ จะส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยเร็วขึ้นได้
โรคข้อเข่าเสื่อมโดยปกติสามารถทำการวินิจฉัยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และถ่ายภาพ X-ray เพื่อยืนยันการวินิจฉัยรวมถึงประเมินความรุนแรงของภาวะข้อเสื่อม
แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
- ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดสาเหตุของโรค เช่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย บริการข้อและระมัดระวังการเคลื่อนไหวข้อเข่า
- กายภาพบำบัด ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวด
- การใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อที่สั่งจ่ายโดยแพทย์
- การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน (Arthrodesis) ผ่าตัดปลี่ยนข้อเข่า (Arthroplasty) ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy) เป็นต้น
นอกจากนั้นยังสามารถชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน อาทิ การฝังเข็ม การพอกยา การรมยา การนวดทุยหนาและทานยาสมุนไพรจีน การเริ่มดูแลอาการข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยชะลอและลดความรุนแรง ความเสื่อมไวและลดความเจ็บปวดทรมานจากการเสื่อมของข้อเข่าลงได้